หน่วยที่ 6


    ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ความหมายของระบบเครือข่าย


       ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ( Computer Network ) หมายถึง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปข้าด้วยกันด้วยสายเคเบิล หรือสื่ออื่นๆ ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถรับส่งข้อมูลแก่กันและกันได้

นกรณีที่เป็นการเชื่อมต่อรหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เป็นศูนย์กลาง เราเรียกคอมพิวเตอร์ที่เป็นศูนย์ลางนี้ว่า โฮสต์ (Host) และเรียกคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่เข้ามาเชื่อมต่อว่า ไคลเอนต์ (Client)ระบบเครือข่าย (Network) จะเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเพื่อการติดต่อสื่อสาร เราสามารถส่งข้อมูลภายในอาคาร หรือข้ามระหว่างเมืองไปจนถึงอีกซีกหนึ่งของโลก


ประโยชน์ของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
·          สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
·          สามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ เช่น เครื่องพิมพ์ ฮาร์ดดิสก์
·          ประหยัดเนื่องจากสามารถแชร์ทรัพยากรร่วมกันได้
·          สามารถแชร์ไฟล์หรืเอกสารได้ เช่น บันทึกข้อความ ตารางข้อมูลต่าง ๆ รูปภาพ  วีดีโอ
·          สามารถใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) ในการติดต่อผู้ที่อยู่ห่างไกลได้อย่างรวดเร็ว
·          การสนทนาผ่านเครือข่าย หรือการแชท (chat) การประชุมระยะทางไกล (videoconference)
·          การแชร์ซอร์ฟแวร์ต่าง ๆ เช่น ไมโครซอร์ฟออฟฟิศ โปรแกรมฐานข้อมูล เป็นต้น
·          สามารถบริหารจัดการ การทำงาน ได้จากศูนย์กลาง (Centralized Management)
·          มีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลบนเครือข่าย (Network Security)
·          ใช้งานอินเตอร์เน็ตร่วมกัน (Internet Sharing) ได้


เครือข่ายคอมพิวเตอร์มี 6 ประเภท
1.เครือข่ายคอมพิวเตอร์เฉพาะที่หรือแลน          (Local  area  network  :  LAN
2.เครือข่ายนครหลวงหรือแมน                           (Metropolition  area  network  :  MAN)
3.เครือข่ายบริเวรกว้างหรือแวน                          (Wide  area  network  :  WAN)
4.เครือข่ายภายในองค์กรหรืออินทราเน็ต            (Intranet)
5.เครือข่ายภายนอกองค์กรหรือเอกซ์ทราเน็ต     (Extranet)
6.เครือข่ายอินเทอร์เน็ต                                       (Internet)


สามารถแบ่งลักษณะของการเชื่อมโยงออกเป็น 3 ลักษณะ คือ
1. เครือข่ายแบบดาว (Star Network) เครือข่ายแบบนี้จะมีคอมพิวเตอร์คอมพิวเตอร์หลักที่เป็นโฮสต์ (Host) ต่อสายสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ย่อยที่เป็นไคลเอนต์ (Client) คอมพิวเตอร์ที่เป็นไคลเอนต์แต่ละเครื่องไม่สามารถติดต่อกันได้โดยตรง การติอต่อจะต้องผ่านคอมพิวเตอร์โฮสต์ที่เป็นศูนย์กลาง
2. เครือข่ายแบบวงแหวน (Ring Network) เครือข่ายแบบนี้จะมีการติดต่อสื่อสารเป็นแบบวงแหวนโดยที่ไม่มีคอมพิวเตอร์หลัก คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในเครือข่ายสามารถติดต่อกันได้โดยตรง
3. เครือข่ายแบบบัส (Bus Network) เครือข่ายแบบนี้จะมีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์บนสายเคเบิล ซึ่งเรียกว่าบัส คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งๆ สามารถส่งถ่ายข้อมูลได้เป็นอิสระ โดยข้อมูลจะวิ่งผ่านอุปกรณ์ต่างๆ บนสายเคเบิลจนกว่าจะถึงจุดที่ระบุไว้ (Address)

การประยุกต์ใช้งานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

-                   บริการกระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Bulletin Boards services)กระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์ จะเป็นบริการแลกเปลี่ยนข่าวสารรวมทั้งแสดงความคิดเห็นผ่านกระดานข่าวของกลุ่มแบบอิเล็กทรอนิกส์
-                   จดหมายและจดหมายเสียงทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail and Vioce Mail)
-                   การประชุมระยะไกลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Teleconference)การ ใช้ตรวจรักษาโรคผ่านระบบประชุมทางไกล หรือใช้ในการเรียนการสอน เป็นต้น
-                   บริการสารสนเทศทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Information services) ซึ่งผู้ใชจะสามารถเรียกดูสารสนเทศเหล่านั้นได้ทันทีทันใดและตลอด 24 ชั่วโมง
      -                   การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเลคทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange - EDI)ระบบ EDI จะเป็นกระบวนการที่ช่วยให้องค์กรทางธุรกิจต่าง ๆ สามารถแลกเปลี่ยนเอกสารที่เป็นแบบฟอร์มาตรฐานต่าง ๆ เช่น ใบส่งของ ใบสั่งซื้อ หรืออื่น ๆ ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
      -                   การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Funds Transfer -EFT) เข้า-ออกหรือระหว่าง  บัญชีของธนาคาร เป็นการประยุกต์ใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่พบได้ในชีวิตประจำวัน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนในปัจจุบันก็คือการฝากถอนเงินผ่านเครื่อง ATM (Automated teller machine) รวมทั้งระบบการโอนเงินระหว่างบัญชี ไม่ว่าจะทำผ่านเคาน์เตอร์ธนาคารหรือผ่านระบบธนาคารทางโทรศัพท์ก็ตาม
      -                   การสั่งซื้อสินค้าทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Shopping)บริการการสั่งซื้อสินค้าทางอิเล็กทรอนิคส์ 




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น